"หนานหมาน" ก่อนยุคฉิน ของ หนานหมาน

กษัตริย์แห่งฉู่เคยเรียกตัวเองว่า หมานอี๋ (蠻夷)[6] ชาวจิ้นและชาวเจิ้งต่างก็เรียกพวกเขาว่าจิงหมาน (荊蠻)[7] และต่อมาชาวฉู่ก็กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ถูกเรียกว่า จูเซี่ย (諸夏)[8][9] นอกจากนี้ ราชวงศ์โจวใช้คำว่า 蠻 เรียกกลุ่มชนเผ่าอื่น ๆ ในสมัยนั้น เช่นพวก เยวี่ย (越), ยง (庸), ไป่ผู (百濮), ปา (巴), สู่ (蜀), เจียวเหยา (僬僥), เต่าอี๋ (島夷), ซานเหมียว (三苗) เหออี๋ (和夷)

นักวิชาการชื่อหลู เหม่ย์ซง (盧美松) เชื่อว่า 蠻 เป็นคำที่เรียกตัวเอง หมายถึง "คน, ประชนชน"[10]

นักภาษาศาสตร์ ไป๋ อีผิง (白一平) และซาเจียเอ่อร์ (沙加爾) ได้รื้อฟื้นการสร้างการออกเสียงของภาษาจีนโบราณขึ้นมาใหม่ แล้วมองว่า 蠻 ในภาษาจีนโบราณออกเสียงว่า *mˤro[n] ซึ่งคล้ายกับคำว่า 閩 ซึ่งใช้เรียกกลุ่มชนเผ่าทางใต้ซึ่งอ่านว่า *mrə[n] มาก[11]

สวี ซวี่เซิง (徐旭生) มองว่าต้นกำเนิดที่สำคัญทั้งสามของชาวจีนคือเผ่าหัวเซี่ย, ตงอี๋ และ หนานหมาน[12]